top of page
Colorful Flags

สื่อสารการสร้างสรรค์ แบ่งปันสู่สังคม

 อ้อม สตูดิโอ ส่งต่อ "แรงบันดาลใจ" ในการสร้างสรรค์จากทั่วทุกมุมโลก ไว้ให้คุณที่นี่แล้ว ! 

Art History Ep.01 : ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Art)

Writer's picture: aomstudiobkkaomstudiobkk

Updated: Oct 8, 2021

ความหมายของยุคก่อนประวัติศาสตร์ จะถือเอาแบบวิถีชีวิตของมนุษย์ก่อนที่จะมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งก็ย้อนไปได้ถึงราว 20,000 ปีก่อนคริสตกาล (20,000 BC.)


 

ข้อมูลและภาพประกอบจากหนังสือ "พัฒนาการแนวคิดและแบบลักษณ์ศิลปะตะวันตกอย่างสังเขป" โดย รศ.วีระจักร์ สุเอียนทรเมธี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 






ศิลปกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญดังนี้


ยุคหินเก่า (Paleolithic) หรือ (Palaeolithic)

ลักษณะสภาพความเป็นอยู่ยังคล้ายสัตว์ อยู่ตามถ้ำ มีอาวุธหรือเครื่องมือที่ทำจากกระดูก เขาสัตว์ หรือหิน มีการดำรงชีพอยู่ด้วยการล่าสัตว์ ยังไม่รู้จักการเก็บสะสมอาหารหรือทำการเกษตรใดใด ลักษณะผลทางศิลปกรรมจึงเป็นไปเพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ เพื่อความเชื่อมั่นทางจิตใจหรือความลี้ลับ พิธีกรรมเพื่อความอยู่รอดหรือก่อนออกล่าสัตว์หรือเป็นการบันทึกหมายจำ ผลงานเหล่านั้นคงจะมีน้อยมากที่เป็นไปเพื่อตอบสนองความงามที่พึงใจ (แต่ก็อาจมีบ้าง) ผลงานจิตรกรรมผนังถ้ำส่วนมากจะเป็นการวาดในส่วนที่ลึกและมืดที่สุดของถ้ำ และบางครั้งก็อยู่บนเพดานสูง


งานศิลปะในยุคหินเก่านี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

- งานศิลปะตามผนังถ้ำ

- งานศิลปะที่พกพาได้ เช่น งานแกะสลักหรือประติมากรรมขนาดเล็ก งานศิลปะตกแต่ง


งานศิลปะตามผนังถ้ำ (Cave Art)

ปรากฏจิตรกรรมตามผนังถ้ำ ตามบริเวณฝรั่งเศสตอนกลางและตอนใต้และภาคเหนือของสเปน ส่วนมากมักจะเขียนภาพอยู่ตรงส่วนที่ลึกที่สุด แคบที่สุดหรือที่ยากต่อการเข้าถึงภายในเพดานหรือผนังถ้ำ ซึ่งยังปรากฏมีรอยพิมพ์เท้าตามพื้นที่ภายในถ้ำด้วย การวาดในผนังถ้ำที่มืดมิดจะใช้แสงจากตะเกียงน้ำมันไขสัตว์ ลักษณะเทคนิคการสร้างภาพจะมี 3 ลักษณะ

1) ใช้การพ่นเป่าสี

2) ใช้นิ้วมือหรือพิมพ์อย่างอื่นในการวาดและ

3) ใช้แปรงที่ทำมาจากขนสัตว์


สีที่ใช้มาจากแร่ธาตุที่หาได้ มีถ้ำที่สำคัญๆ ในยุโรปที่มีผลงานปรากฏอยู่ตามผนังถ้ำ เช่น ถ้ำโชเวต์ (Chauvet) มีจิตรกรรมผนังถ้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ภาพสัตว์ได้แก่ ม้า วัวไบซัน ช้างแมมมอธ หมี เสือแพนเธอร์ นกเค้าแมว กวาง แรด แพะไอเบกซ์ ยังรวมไปถึงรอยที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งชายและหญิง รูปเรขาคณิต เช่น ตารางเหลี่ยม วงกลม จุด





ถ้ำลาส์โกซ์ (Lascaux) เป็นถ้ำที่รู้จักเกี่ยวกับจิตรกรรมผนังถ้ำดีที่สุด อยู่บริเวณลุ่มน้ำดอร์โดน (Dordogne)

แถบภาคใต้ของฝรั่งเศส ภาพจะปรากฏอยู่ตามเพดานหินปูนผิวเนียนกับบริเวณผนังถ้ำสูงเนื้อหินผิวหยาบ มีภาพวาดประมาณ 600 ภาพและภาพแกะสลัก ราว 1,500 ภาพ อากัปกิริยาของสัตว์จะปรากฏเป็นไปตามรอยพื้นผิวธรรมชาติของหิน เช่นภาพแพะไอเบกซ์ และหมี แกะตามรอยพื้นผิวของหิน ลักษณะภาพจะมีหลายขนาด หน้าของสัตว์ซ้อนต่อกันหรือไม่ก็เดินตามรอยต่อหางเป็นแถวกัน และมีการวาดทับลงจากภาพเดิมขึ้นมาเป็นชั้นๆ ภาพสัตว์จะมีขนาดเท่าจริงและใหญ่กว่าขนาดจริง จะวาดแบบภาพเงาดำและแบบเป็นเส้นขอบนอก


ถ้ำอัลตามีรา (Altamira) ภาพปรากฏอยู่บริเวณข้างบนหรือตรงตำแหน่งไม่ปกติในผนังถ้ำ เขียนวัวไบซันอยู่บนเพดานถ้ำด้วยสีแดงและน้ำตาล ภาพทรงพลังเป็นอย่างมาก เส้นขอบนอกเด็ดขาดและใช้พื้นผิวแง่มุมของหินให้เป็นส่วนหนึ่งของภาพไปในตัว ใส่รายละเอียดของหัว เขา หางและขาด้วยสีดำและน้ำตาล ผสมสีเหลืองและน้ำตาลจากดินที่มีแร่เหล็กเจือปน เพื่อให้ออกสีแดงและสีดำมาจากแมงกานีสหรือถ่าน


นอกจากนั้นยังมีภาพในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งอยู่ในแถบออสเตรเลียของชาวอะบอริจิน เป็นภาพบนผนังถ้ำหรือบนเปลือกไม้มีลักษณะพิเศษที่มองเห็นอวัยวะภายในของสัตว์ จิงโจ้ ปลาและนก วาดอย่างเรียบง่าย

เรียกภาพลักษณะนี้ว่า ภาพจิตรกรรมเอ๊กซเรย์ (X-ray painting) ใช้เส้นสีขาวในการระบายใส่รายละเอียดเพิ่มด้วยสีแดงหรือสีเหลือง พบในแถบตอนเหนือของออสเตรเลีย สันนิษฐานว่าภาพดังกล่าวน่าจะเกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหนือธรรมชาติ พิธีกรรมและความลี้ลับ


งานศิลปะที่พกพาได้ (Portable Art)

ราว 30,000 ปีก่อนคริสตกาล จะมีรูปปั้นขนาดเล็กหรือเป็นรูปปั้นผู้หญิง รูปคนรูปสัตว์ทำจากกระดูกสัตว์

งาช้าง หินและดินปั้น ซึ่งเป็นลักษณะประติมากรรมลอยตัว (sculpture in the round) และยังมีงานแกะสลักเป็นรูปนูน (relief sculpture) ต่างๆ การแกะสลักตกแต่งอาวุธหรือเครื่องใช้ โดยการแกะขูดขีด กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ งาช้างหรือหินสิ่งที่ใช้ขูดหรือแกะ ก็ทำมาจากหิน


งานประติมากรรมที่เป็นรูปผู้หญิงอวบอ้วนสะโพกผาย ขนาดประมาณฝ่ามือเล็กน้อย แสดงลักษณะของความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเผ่าพันธุ์ มีลักษณะค่อนมาทางที่ก่อให้เกิดสังคมที่แม่หรือผู้หญิงมีความสำคัญและมีบทบาท

ไปจนถึงการให้ความหมายในธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติรูปปั้นผู้หญิงเหล่านี้ถ้าไม่แกะสลักจากหินปูน ก็จากกระดูกสัตว์หรือไม่ก็ปั้นจากดินแล้วนำไปเผาไฟ


รูปปั้นบางลักษณะแกะเป็นรูปศีรษะ ซึ่งจะหมายถึง รูปแห่งความหมายจำ (memory image) มักแกะมาจากงาช้าง ซึ่งเนื้ออ่อนแกะได้ง่าย แกะสลักด้วยการมองภาพรวมจากบุคลิกอย่างง่ายๆ งานแกะสลักเขากวางเรนเดียร์เป็นรปู วัวไบซนั ที่แกะสลักตามรูปร่างของเขากวางที่มีอยู่ให้เป็นภาพได้พอดิบพอดี






 



ยุคหินใหม่ (Neolithic)

มีลักษณะของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เกิดลักษณะตั้งถิ่นฐานถาวร อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ มีเครื่องนุ่งห่ม รู้จักทำเครื่องดินเผาเชิงภาชนะ (ceramic pottery) ทำเกษตรกรรม การถนอมและกักเก็บอาหาร มีการเลี้ยงสัตว์


ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธยังคงทำมาจากหิน เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์แต่มีความประณีต ขัดแต่งมากขึ้น งานศิลปกรรมที่โดดเด่นจะเป็นงานจำพวกเครื่องดินเผาและอนุสรณ์หินขนาดใหญ่ (Megalithic (mega – ใหญ่ lithos – หิน)) เพื่อเป็นถาวรวัตถุ มากกว่างานด้านจิตรกรรมหรือประติมากรรมขนาดเล็ก


งานที่ปรากฏไม่ได้เป็นการจำลองแบบในธรรมชาติหรือให้เหมือนจริงดั่งยุคหินเก่า ลักษณะแบบสิ่งสร้างเหล่านี้ เป็นไปในด้านของพิธีกรรม ความเชื่อหรือเพื่อเคารพธรรมชาติ สื่อนามธรรม และเป็นสุสานสำหรับบุคคล เกิดความหมายเชิงสัญลักษณ์และเกียรติยศมากขึ้นแสดงถึงความซับซ้อนและมีระบบแบบแผนมากขึ้นของกลุ่มชนและสังคม

อนุสรณ์หินจะปรากฏเป็น 4 ลักษณะ

1. หินตั้งเดี่ยว (menhir) มีลักษณะสูงมากกว่า 64 ฟุต

2. หินตั้งเรียงเป็นแถวยาว (alignment)

3. หินวางพาดซ้อนทับ (โต๊ะหิน) (dolmen) ดูแล้วคล้ายโต๊ะหินขนาดใหญ่

4. หินวางพาดซ้อนทับล้อมเป็นวง (cromlech) จัดวางเรียบร้อยมีระยะและวางเป็นวงล้อม


ลักษณะอนุสรณ์หินเหล่านี้ ก่อให้เกิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในยุคแรกเริ่มของมนุษย์ เกิดระบบ เสาและคานวางพาด (ทับหลัง) (post & lintel system) ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นที่อยู่อาศัย และสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนขึ้นในยุคถัดไป







ปรียบเทียบคุณลักษณ์ที่สำคัญและโดดเด่นของศิลปกรรมก่อนประวัติศาสตร์ทั้งสองยุค

ช่วงเวลา

  • ยุคหินเก่า (paleolithic) 30,000-10,000 BC.

  • ยุคหินใหม่ (neolithic) 10,000-5,000 BC.

สภาพโดยทั่วไป

  • ยุคหินเก่า - ล่าสัตว์ เก็บของป่า อยู่ตามถ้ำ ย้ายถิ่นไปเรื่อย ยังไม่มีเครื่องนุ่งห่ม อาวุธทำจากกระดูกและหินอย่างหยาบ (ยุคหินต่อย)

  • ยุคหินใหม่ - อยู่เป็นหลักแหล่ง ชายฝั่งน้ำ เก็บอาหาร ทำเครื่องดินเผา รวมตัวเป็นเผ่า มีการทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์อาวุธเครื่องมือทำจากหินอย่างประณีต (ยุคหินขัด)

ลักษณะงานศิลปกรรม

  • ยุคหินเก่า - จิตรกรรม : ตามผนังถ้ำต่างๆ เป็นภาพสัตว์มองจากด้านข้างเป็นหลัก ภาพพิมพ์รอยมือ (imprints) ภาพจติ รกรรมเอ๊กซเรย์ (X-ray painting) มีภาพคนประกอบน้อยมาก ประติมากรรม : ขนาดเล็ก ตุ๊กตาวีนัส งานแกะรูปสตั ว์บนเขาสัตว์หรือกระดกู สัตว ์ รูปลอยตัวและงานนูนต่ำร่องลึก

  • ยุคหินใหม่ - อนุสรณ์หิน (Megalithic) -หินตั้งเดี่ยว (menhir) -หินตั้งเรียงแถว (alignment) -โต๊ะหิน (dolmen) -หินทับซ้อนเป็นวงล้อม (cromlech) งานเครื่องดินเผา (pottery) เกิดขึ้นอย่างโดดเด่น

กรรมวิธีเทคนิค-วัสดุ

  • ยุคหินเก่า - สีจากธรรมชาติ ดิน สีดำ สีแดง น้ำตาล เหลือง - จดจำและแม่นยำสูง มีการเป่าพ่นสี วาดเส้นลงน้ำหนักด้วยความแม่นยำฉับไว - แกะสลักหิน งาช้าง กระดูก เขาสัตว์ - สร้างงานเท่าที่วัสดุมีรูปทรงอยู่ตามสภาพ - รู้จักการสร้างมิติของภาพด้วยการใช้พื้นผิวของผนังถ้ำมาใช้ในการลวงตา

  • ยุคหินใหม่ - เกิดโครงสร้างระบบเสาและคานวางพาด (post & lintel system) หรือเสาและทับหลังงานจิตรกรรมน้อยลง มีงานเครื่องดินเผาเพิ่มขึ้นวัสดุหิน ที่ขัดแต่งอย่างประณีต มาสร้างและจัดวาง ไม่ใช้วัสดุสื่อโดยตรงแต่ดัดแปลงแปรรูปหรือแต่งสื่อวัสดุเสียใหม่

เป้าหมายและสุนทรียภาพ

  • ยุคหินเก่า - เพื่อการดำรงชีพและการอยู่รอดบันทึกภาพสัตว์ อย่างเหมือนจริงและข่มนามก่อนล่าสัตว์ เพื่อฮึกเหิมเชื่อมั่นสร้างสิ่งศิลปกรรมตามที่ตาเห็นความอุดมสมบูรณ์และสืบเผ่าพันธุ์

  • ยุคหินใหม่ - ตอบสนองความเชื่อ พิธีกรรม วิญญาณนิยม (Animism) มีระบบความคิดเชิงนามธรรมมากขึ้น เพื่อเกียรติยศของบุคคล เป็นระบบสัญลักษณม์ากขึ้น ซับซ้อนเป็นระบบ สร้างสิ่งศิลปกรรมจากสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา


แหล่งอ้างอิงข้อมูลและภาพที่ใช้ในการเรียบเรียงและเพื่อศึกษาเพิ่มเติม

  • Honour, Hugh & Fleming, John. A World History of Art. China: Laurence King Publishing. 2005.

  • Kleiner, Fred S. Art through the Ages: A Concise Western History, third edition. USA: Wadsworth. 2008.

  • Stokstad, Marilyn. Art History. New Jersey: Pearson Education. 2011.

  • HuntFor.com LLC, www.huntfor.com/arthistory/prehistoric/ (accessed on 6th June 2008)

  • Wikimedia Foundation, Inc., en.wikipedia.org/wiki/Dolmen (accessed on 6 th June 2008)

  • Wikimedia Foundation, Inc., en.wikipedia.org/wiki/Menhir (accessed on 8 th June 2008)



 

99 views0 comments

Comments


© 2022 by Aom studio. Proudly Created with Plidok Design • Bkk / Thailand

Tel: 083-655-9296 | 095-149-2829

bottom of page